บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ปริยัติ-ปฏิบัติสติปัฏฐาน[03]


มาต่อกันในบทความบทที่ 3 ของชุดนี้ คุณลุงการุณย์ บุญมานุชได้เขียนต่อมา ดังนี้

เหตุใดต้องพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ เป็นคำตอบที่ผู้รู้จะตอบคำถามนี้อย่างไร

พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมมา แปลว่าธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า คือ ใจทำหน้าที่เป็นประธานใหญ่ ใจเป็นผู้สั่งการ ใจเป็นผู้ปกครอง นี่คือความหมาย

- ปัญหาจึงมีอยู่ว่าใจของนั้นเป็นใจของธาตุธรรมฝ่ายใด?

ต้องตอบคำถามนี้ก่อน เพราะบางเวลาอารมณ์เราบันเทิง บางเวลาใจหงุดหงิด บางเวลาเราอยากจะฆ่าแกง บางโอกาสใจเราก็เฉยๆ ไม่ยินดียินร้าย คนเดียวนี้เอง

เหตุใดใจของเราจึงมีสภาพใจเป็นธรรม ๓ ฝ่าย? คือ ใจบันเทิง เป็นใจของภาคกุศล ใจหงุดหงิดอยากฆ่าแกง เป็นใจของอกุศล ใจเฉย ๆ บุญไม่ทำกรรมไม่ก่อ เป็นใจของธรรมภาคกลาง

นั่นคือธรรมทุกฝายแสวงหาอาณานิคม แสวงหาเมืองขึ้น แสวงหาอำนาจปกครอง เข้ามายึดใจของมนุษย์ ธรรมฝ่ายใดมีกำลังมาก? ธรรมฝ่ายนั้นก็เข้ายึดใจได้

เมื่อยึดใจได้แล้ว ก็แสดงอานุภาพแห่งธาตุธรรมนั้นๆ ให้ปรากฏ เช่น ธาตุธรรมฝ่ายกุศลยึดอำนาจได้เราก็มีใจบันเทิง หากภาคกิเลสคือมารยึดได้เราก็หงุดหงิดอยากแก้แค้น หากธรรมภาคกลางยึดได้เราก็มีสภาพใจเฉย ๆ

การที่ท่านสอนให้เราพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ก็เพื่อให้เราชำระใจไม่ให้ภาคกิเลสหรือภาคมารมาครอบครอง เพราะให้ผลเป็นทุกข์แก่เรา

หากเราไม่พิจารณา ก็เหมือนกับเราไม่อาบน้ำชำระร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายสกปรก ความสกปรกเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค จะทำให้เราเป็นโรค นั่นเอง

วิธีการพิจารณาให้ทำดังนี้
เดินวิชา ๑๘ กายเป็นอนุโลมปฏิโลมจนกว่ากายและดวงธรรมจะมีความใส จนถึงขั้นใจของเราเกิดอารมณ์บันเทิงใจ  จากนั้นอาราธนากายธรรมพระอรหัตเดินวิชาถอยหลังเป็นปฏิโลมกลับมา ถึงกายมนุษย์

กายธรรมเข้าสู่ในท้องของกายมนุษย์ กายเข้าสู่กายใด? ต้องเข้ามาตามฐานคือตั้งแต่ฐานที่ ๑ - ๗ ครั้นกายธรรมเข้าสู่ฐานที่ ๗ แล้ว ให้นึกอาราธนากายธรรมส่งรู้ส่องญาณมองดูดวงธรรมในท้องกายมนุษย์

ครั้นเห็นดวงธรรมแล้วประคองใจให้นิ่ง ท่องใจหยุดในหยุดเข้าไว้ เห็นดวงธรรมชัดเจนแล้ว จะดูอะไร? ต้องเจาะไปทีละอย่างให้แจ้งไปทีละอย่าง

ต้องนึกถึงสิ่งที่จะดูนั้นเพียงอย่างเดียว แล้วจะเห็นสิ่งนั้น เมื่อเห็นแล้วจึงพิจารณาไปตามบทบัญญัติแห่งหลักสูตรนั้นๆ เช่น

๑) จะพิจารณากาย

ท่องใจหยุดในหยุดแล้วนิ่งใจจรดกลางดวงธรรม นึกดูดวงกาย ดวงกายเป็นดวงใสรองรับใจ (ใจคือเห็น จำ คิด รู้) นึกดูศูนย์กลางของดวงกาย เราก็เห็นว่า ดวงกายนี้มีดวงแก่ ดวงเจ็บ ดวงตาย มาหุ้มเป็นชั้นๆ

ดวงแก่สีน้ำตาล ดวงเจ็บเป็นดวงขุ่น ต่อไปก็ดำ ดวงตายเป็นดวงดำประดุจนิล ดวงเหล่านี้มาหุ้มแล้ว ส่งผลให้กายมนุษย์ต้องแก่ ต้องเจ็บ และตาย ดวงเหล่านี้ทำหน้าที่เผาผลาญ

เมื่อเราส่งใจกายธรรมจรดใจลงไปกลางดวงกาย เราก็เห็นความแปรปรวนของกายว่ากายนี้ประกอบด้วยธาตุ ๔ คือดิน น้ำ ไฟ ลม ประกอบเป็นร่างกายของเราขึ้นมา

เห็นความเป็นเด็กเป็นหนุ่มเป็นคนมีอายุ แล้วก็ตายไป เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านจึงกล่าวว่าไม่ให้เรายึดมั่นกาย เพราะเราบังคับไม่ได้ มีแต่แก่ เจ็บ ตาย

กายธรรมต่อรู้ต่อญาณให้ เราจึงเห็นไปตามที่กายธรรมท่านทำให้

นี่คือการพิจารณากายมนุษย์ กายอื่นๆ คือกายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม เรายังไม่ได้พิจารณา

จะเห็นได้ว่า วิชาธรรมกายนั้น เป็นสติปัฏฐาน 4 อย่างแจ้งชัด สามารถอธิบายการเห็นกายได้อย่างละเอียด ชัดเจน สามารถเข้าใจพระไตรลักษณ์ หรือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของกายโลกีย์ทั้งหลาย อย่างทั้งรู้ ทั้งเห็น

ไม่ต้องไปคิดพิจารณามั่วๆ อย่างที่สายยุบหนอพองหนอหรือสายนามรูปสอน....



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น