บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ปริยัติ-ปฏิบัติสติปัฏฐาน[05]


มาต่อกันในบทความบทที่ 5 ของชุดนี้ คุณลุงการุณย์ บุญมานุชได้เขียนต่อมา ดังนี้

สรุปการพิจารณา

ในการปฏิบัติจริง ตามที่บรรยายมานี้เป็นการพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม ในกายมนุษย์ มีวิธีพิจารณาอย่างไร? ใช้กายธรรมพิจารณาอย่างไร? อธิบายมาชัดเจนแล้ว

ต่อไปเราจะพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมในกายใดอีก? และที่กล่าวว่าพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมคืออย่างไร? จงอธิบาย

งานต่อไปที่เราต้องพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ก็คือเราไปพิจารณาให้แก่กายมนุษย์ละเอียด คือการพิจารณาให้แก่กายฝัน คือกายที่ละเอียดต่อจากกายมนุษย์

กายมนุษย์ละเอียดหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากายฝัน คือกายที่ทำหน้าที่ฝันเมื่อกายมนุษย์หลับ นั่นคือกายธรรมมาหยุดนิ่งกลางดวงธรรมของกายมนุษย์ละเอียด แล้วก็พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมเหมือนดังที่เราพิจารณากายมนุษย์

งานต่อไปเราก็พิจารณาให้แก่กายทิพย์หยาบ กายทิพย์ละเอียด กายพรหมหยาบ กายพรหมละเอียด ... กายธรรมพระอรหัตต์ละเอียด รวม ๑๘ กาย ต่อไป

ทุกกายต่างก็มีดวงกาย ดวงเวทนา ดวงจิต ดวงธรรมในกายนั้นๆ โดยเหตุที่เรามีกายมาก คือกายมนุษย์ และมีกายลำดับไปถึงกายธรรมพระอรหัตต์ละเอียด รวม ๑๘ กายนั้น

การพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ในกายต่างๆ ตั้งแต่กายหยาบไปถึงกายละเอียด จึงเรียกว่า พิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม

หากเราพิจารณาแค่กายมนุษย์เพียงกายเดียว เราไม่เรียกว่ากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม แต่เป็นเพราะเรามีกายมาก ตั้งแต่กายมนุษย์ไปถึงกายธรรม พระอรหัตละเอียด เราจึงต้องพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ละเอียดไปตามลำดับของกาย

การพิจารณาต้องใช้กายธรรมพิจารณา ไม่ใช้กายธรรมพิจารณาได้หรือไม่? จงอธิบาย

การพิจารณาต้องใช้กายธรรมพิจารณาเพราะกายธรรมมีรู้มีญาณทัสสนะลึกซึ้งกว่ากายมนุษย์ หากใช้กายมนุษย์พิจารณาก็ไม่ใช่ขั้นเห็นแจ้งเห็นจริง แต่เป็นเพียงนิสัยปัจจัยเท่านั้น

เพราะกายมนุษย์เป็นกายโลกีย์ยังมีกิเลสอยู่มาก ไม่เหมือนกายธรรมซึ่งแทบจะไม่มีกิเลส โดยเฉพาะกายธรรมพระอรหัตต์ละเอียดไม่มีกิเลสเลย

สรุปแล้ว ความรู้เรื่องสติปัฏฐาน ๔ เป็นตำราเรียนในพระพุทธศาสนา มีอยู่ในหนังสือนวโกวาท เป็นหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี นั่นคือความรู้ปริยัติส่วนหนึ่ง เรียนเพื่อรู้เบื้องต้นแต่การปฏิบัติยังไม่มีใครปฏิบัติได้เพราะยังไม่มีใครทำใจให้สว่างใสได้

ซึ่งเรื่องการทำใจให้สว่างใสตามคำสอนของพระพุทธองค์ข้อ ๓ ที่ว่า สจิตฺตปริโยทปนํนั้น เมื่อทำใจให้สว่างใสได้แล้วจะเห็นดวงปฐมมรรคในท้องของตนเอง แล้วเห็นกายละเอียดเป็นลำดับไป ในที่สุดก็เห็นกายธรรม

เบ็ดเสร็จเห็นกาย ๑๘ กาย ตามที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนนั้น เหมือนเห็นกายธรรมแล้ว ใช้กายธรรมพิจารณาความรู้เรื่องสติปัฏฐาน ๔ จึงจะเรียนได้ เรื่องมันยากอย่างนี้

ตอบคำถามสำคัญ ถามว่า ทำไมต้องพิจารณาสติปัฏฐาน ๔?

พระพุทธองค์สอนไว้ในคำถามข้อ ๓ ว่า สจิตตปริโยทปนํ แปลว่าจงทำใจให้สว่างใส หาก ทำใจให้สว่างใสได้แล้ว ทำให้เราได้รับความสำเร็จหลายอย่าง เช่น

ประการแรก ส่งผลให้เราเข้าถึงวิชาสูงสุดในพระพุทธศาสนาคือบรรลุวิชาธรรมกาย ซึ่งวิชาธรรมกายนี้เป็นทางมรรคผลนิพพาน

ใครยังไม่เป็นวิชาธรรมกาย? ก็แปลว่ายังห่างไกลต่อมรรคผลนิพพาน

วิชาธรรมกายนี้เป็นหลักสูตรบังคับที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะต้องบรรลุได้จงได้ และเป็นประเพณีที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะต้องบรรลุในวัน วิสาขบูชา

การบรรลุวิชาธรรมกายเป็นการยกฐานะของความเป็นพระพุทธเจ้า ความเป็นสัพพัญญูพุทธเจ้ามีขึ้นในวันวิสาขบูชานั้น

ตราบใดที่ยังไม่เป็นวิชาธรรมกาย? มรรคผลนิพพานจะมีขึ้นไม่ได้ เพราะการได้มรรคผลนิพพานนั้นต้องละสังโยชน์ได้ ซึ่งการละสังโยชน์นั้นต้องใช้กายธรรมพิจารณาจึงจะหมดกิเลสได้

ใครละสังโยชน์ได้? จึงจะได้มรรคผลนิพพาน การบรรลุวิชาธรรมกายก็ดี การละสังโยชน์ได้ก็ดี เกิดจากการทำใจให้สว่างใสได้ทั้งนั้น

- การพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่การพิจารณากาย ตำราสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นเพราะกายมีการแตกดัง คือตายได้

เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า กายเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ช่วยให้เราไม่ประมาท ความไม่ประมาทจะช่วงให้เราเร่งสร้างกุศล คือ เร่งสร้างทาน ศีล ภาวนา อันเป็นสุดยอดของกุศล...



2 ความคิดเห็น:

  1. เดินจงกรม คือ กายานุปัสนา
    นั่งเเล้วรู้สึกเมื่อยมาก น้อย เเละหายไป คือ เวทนานุปัสนา
    นั่งเเล้วจิตคิดเรื่องต่าง จิตเบิกบาน จิตเศร้าหมอง คือ จิตตานุปัสนา.
    ข้อธรรมเกิดดับตลอดเวลาดูความไม่เที่ยงก็ได้ เเนวทางปฏิบัติลดอกุศลก็ได้ คือ ธรรมานุปัสนา.
    ทั้งหมดคือสติปัฏฐาน 4 ครับ...

    ตอบลบ
  2. อยากจะโง่ ก็โง่ไปเถอะ

    อย่ามาแสดงความโง่แถวนี้

    ตอบลบ