บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

วิชา 18 กายกับสติปัฏฐาน 4


ผมได้เขียนไปแล้วหลายครั้งหลายหนว่า “วิธีปฏิบัติธรรมแบบยุบหนอพองหนอกับแบบนามรูปไม่ได้เป็น สติปัฏฐาน 4”  

วิธีปฏิบัติธรรมแบบยุบหนอพองหนอกับแบบนามรูปเป็นการเดินไปเดินมา แล้วคิดเรื่องพระไตรลักษณ์เท่านั้น

แล้วผมก็เขียนไปแล้วหลายครั้งหลายหนว่า วิชาธรรมกายนี่แหละเป็น “สติปัฏฐาน 4” ของแท้แน่นอน

วันนี้จึงขอนำหลักฐานมายืนยันข้อเขียนที่ว่า  “วิชาธรรมกายสติปัฏฐาน 4”  โดยนำมาจากหนังสือ “ปุจฉาวิสัชนา-วิชาธรรมกาย และประวัติของผู้ทำวิชาปราบมาร” ซึ่งเป็นคำถามของคณะศิษย์และคำตอบของคุณลุงการุณย์ บุญมานุช  ดังนี้

๓๒๓. ว่ากันว่าการเดินวิชา ๑๘ กายเป็นการพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม โดยอัตโนมัติใช่หรือเปล่าครับ?

ถูกแล้ว! กายก็คือกายต่างๆ เช่น ๑๘ กายเป็นต้น


เวทนาในที่นี้หมายถึงอารมณ์ที่เกิดแก่ใจว่าทุกข์ สุข และไม่ทุกข์ไม่สุข (คือกลางๆ จะว่าสุขก็ไม่ใช่จะทุกข์ก็ไม่เชิง)


จิตก็คือการที่รู้ว่าใจผ่องแผ้ว ใจไม่ผ่องใส คือเห็นว่าใสหรือไม่ใส สว่างหรือไม่สว่างนั่นเอง


ธรรมนั้นก็คือรู้เห็นว่า อะไรเป็นกุศล? อะไรเป็นอกุศล? อะไรเป็นธรรมภาคกลาง? คือไม่ใช่กุศลและก็ไม่ใช่อกุศล ยังคาบลูกคาบดอก เรียกว่า อัพยากตาธัมมา คือ ธรรมฝ่ายกลาง สีกายธรรมเป็นสีน้ำตาล ธรรมภาคมารสีกายธรรมเป็นสีดำและสีตะกั่ว สีกายธรรมของภาคขาวเป็นสีขาว


ที่เราได้ยินพระท่านสวดว่า กุสลาธัมมา (คือภาคพระ ภาคขาว ภาคกุศล) อกุสลาธัมมา (คือภาคมาร ภาคดำ ภาคบาป) อัพยากตาธัมมา (คือภาคกลาง ประเภทบุญไม่ทำกรรมไม่สร้าง จะว่าเป็นพระก็ไม่ใช่ จะว่ามารก็ไม่เชิง)

การเห็นกายในกาย ตั้งแต่กายหยาบไปถึงกายละเอียด เรียกว่า กายานุปัสสนา

การเห็นเวทนาในเวทนาคือเห็นทุกข์ สุข ไม่ทุกข์และไม่สุข ตั้งแต่กายหยาบไปถึงกายละเอียดเรียกว่า เวทนานุปัสสนาทุกข์เป็นดวงดำ สุขเป็นดวงขาว ดวงสีน้ำตาลเป็นดวงของภาคกลาง

การเห็นใจที่ใสใจที่ไม่ใสตั้งแต่ใจของกายหยาบไปถึงกายละเอียด หากมารเขามาแทรก ใจของเราก็ขุ่นมัวไม่สว่างใส หากเป็นใจของภาคขาวล้วนๆ ใจนั้นก็สว่างใส เรียกว่า จิตตานุปัสสนา

การเห็นดวงธรรมต่างๆ เช่นดวงธรรมสีขาว ดวงธรรมสีดำ ดวงธรรมสีน้ำตาล ที่พบในกายต่างๆ ตั้งแต่ในกายหยาบไปถึงกายละเอียด การเห็นเช่นนั้น แสดงถึงการเข้ามายึดอำนาจปกครอง

หากเราพบแต่ดวงธรรมขาว ส่งผลให้ภาคกุศลเป็นความรุ่งเรือง หากไปพบดวง ดำเข้า ภาคมารเขาก็มีกำลังมากกว่าภาคขาว การรู้เห็นเช่นนี้ เรียกว่า ธัมมานุปัสสนา

ขอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาดูว่า คำอธิบายของวิชาธรรมกายนั้น สามารถอธิบาย 
  • กายานุปัสนาสติปัฏฐาน
  • เวทนานุปัสนาสติปัฏฐาน
  • จิตตานุปัสนาสติปัฏฐาน
  • ธรรมานุปัสนาสติปัฏฐาน

 ได้อย่างแจ่มชัดหรือไม่

และเมื่อเปรียบเทียบกับคำอธิบายของสายยุบหนอพองหนอกับสายนามรูป จะเห็นว่า คำอธิบายของสายวิชาธรรมกาย เป็นเหตุเป็นผลและครบถ้วน ซึ่งทำให้เข้าใจได้ง่ายๆ กว่าคำอธิบายของสายยุบหนอพองหนอกับสายนามรูปหรือไม่..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น