บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ฐานของใจ

ในการฝึก “กายธรรมสติปัฏฐาน” ที่คิดขึ้นมาสำหรับคนที่ฝึกปฏิบัติธรรมแบบยุบหนอพองหนอกับแบบนามรูป ที่ต้องการเปลี่ยนวิธีฝึกปฏิบัติธรรมมาเป็นสายวิชาธรรมกาย ต้องเอาใจไปตามฐานของใจ

ถึงตอนนี้ ถ้ามีคนถามว่า ทำไมจะต้องเปลี่ยนวิธีปฏิบัติธรรมแบบยุบหนอพองหนอกับแบบนามรูปมาเป็นการฝึกแบบวิชาธรรมกายด้วย

คำตอบก็คือ

วิธีปฏิบัติธรรมแบบยุบหนอพองหนอกับแบบนามรูปไม่ได้เป็น “สติปัฏฐาน 4” วิธีปฏิบัติธรรมแบบยุบหนอพองหนอกับแบบนามรูปเป็นการเดินไปเดินมา แล้วคิดเรื่องพระไตรลักษณ์เท่านั้น

การคิดแบบนั้น เป็นการคิดแบบนักปรัชญา ไม่ใช่การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง แต่การคิดพิจารณาร่างกายเป็นพระไตรลักษณ์นั้น ไม่ได้มีข้อเสียอย่างร้ายแรง แต่ไม่มีทางที่จะก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมได้

ให้เดิน ให้นั่ง ไปเป็นอสงไขยชาติ ก็จะได้เพียงความสงบชั่วคราว กำจัดกิเลสได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่สามารถกำจัดกิเลสที่ละเอียดๆ ลึกๆ ได้

ตำแหน่งของฐาน



ในการอธิบาย ผมจะอธิบายละเอียดเพียง 2 ฐานคือ ฐานที่ 4 ปากช่องเพดาน กับฐานที่ 7  สำหรับฐานที่ 1, 2, 3, 5, และ 6 ไม่ยาก

ประการสำคัญก็คือ ฐานที่ 1 กับฐานที่ 2 นั้น  ผู้หญิงเข้าทางซ้าย คือ ปากช่องจมูกซ้าย  ตาซ้าย  ผู้ชายปากช่องจมูกขวา  ตาขวา

คำว่า “ตาซ้าย” กับ “ตาขวา” หมายถึงตรงหัวตา  ตรงที่น้ำตาไหลออกมา  

ฐานที่ 3 นั้น นึกให้อยู่กลางศีรษะ นึกได้ก็ถือว่า ถูกต้องแล้ว  ในใจตอนที่เอาใจเคลื่อนเข้าไปตามฐานนั้น  ถ้าใจคิดว่า มันเอียง ไม่ตรง ก็ไม่ต้องไปกังวล เอานึกให้ได้เสียก่อน

ในความเป็นจริงแล้ว  มันถูกต้องตามฐานแล้ว แต่มารมันพยายามจะเบี่ยงเบน ให้เราคิดว่า เราเอาใจไว้ไม่ถูกที่  ดังนั้น มันจะเอียงนิด เอียงหน่อย อย่ามัวไปจัดมัน  ค่อยๆ ปฏิบัติไป เดี๋ยวก็ตรงเอง

ฐานที่ 5 นึกให้อยู่เหนือลูกกระเดือกนิดหนึ่ง  ผู้ชายไม่ค่อยมีปัญหา เพราะ ลูกกระเดือกเห็นอยู่  ของผู้หญิงลูกกระเดือกไม่แหลมออกมา ก็นึกให้ได้ก็แล้วกัน

เคยไปสอนนักเรียน นักเรียนรวมถึงนักศึกษาคิดว่า “ผู้หญิงไม่มีลูกกระเดือก” เป็นการเข้าใจอย่างร้ายแรง เพราะ ถ้าไม่มีลูกกระเดือก เราจะพูดไม่ได้เลย

เส้นเสียงที่ทำให้เกิดเสียงพูดนั้น อยู่ในลูกกระเดือก  เวลาเราพูด เสียงจะออกมาจากปอด ตอนที่เราหายใจออก เสียงพูดส่วนใหญ่ ใช้ลมออกจากปอด

เมื่อลมผ่านเส้นเสียงก็จะสั่นทำให้เกิดคลื่นเสียง เสียงก็ไปโดนฟันมั่ง ลิ้นมั่ง ปากก็บังคับให้เสียงแตกต่างกันไป ก็กลายมาเป็นเสียงสระกับเสียงพยัญชนะ

ฐานที่ 4 คือ ปากช่องเพดานหรือเพดานปากนั้น ดูตามภาพจะเห็นว่า อยู่ระดับเดียวกับจมูก แต่ก็ไม่ช่วยให้เข้าใจมากนัก

ถ้าอยากรู้ว่าฐานที่ 4 อยู่ตรงไหน ให้ทำเสียงกระแอม สะเทือนตรงไหนมากที่สุดในลำคอ ตรงนั้นคือฐานที่ 4

สำหรับฐานที่ 6 นั้น ให้นึกว่ามีเส้นด้าย แทงจากสะดือทะลุหลัง และจากสีข้างขวา ทะลุมาสีข้างซ้าย  ตรงที่เส้นด้ายตัดกันคือ ฐานที่ 6

มาถึงฐานที่ 7 ที่จะต้องเอาใจมาหยุดตรงนี้ตลอดไป  ฐานที่ 7 ยกสูงขึ้นมาจากฐานที่ 6 สองนิ้วมือ คือ ความกว้างของการที่เราเอานิ้วโป้งของมือซ้ายกับมือขวาซ้อนกัน

แต่ในการไปสอน เพื่อความสะดวก เราจึงใช้ความกว้างของนิ้วชี้กับนิ้วกลางแทน เพราะ สะดวกดี

ดูรูป ได้มาจาก gotoknow





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น