บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

วิชาธรรมกายกับวิปัสสนา

จากการค้นไปค้นไปในเว็บต่างๆ ผมบังเอิญไปอ่านพบข้อเขียนเรื่อง “วิชาธรรมกายกับวิปัสสนากรรมฐานแตกต่างกันอย่างไร” โดยผู้เขียนใช้นามแฝงว่า “ครูแก่” ท่านเขียนไว้ดังนี้

การปฏิบัติธรรมจะมีหลักสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

1. บริกรรมนิมิต
- สายธรรมกายกำหนดลูกแก้วกลมใสเป็นนิมิต
- สายพุทโธกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นนิมิต
- สายยุบหนอพองหนอกำหนดท้องเป็นนิมิต

2. บริกรรมภาวนา
- สายธรรมกายกำหนดสัมมาอะระหังเป็นบริกรรมภาวนา
- สายพุทโธกำหนดพุทโธเป็นบริกรรมภาวนา
- สายหยุบหนอพองหนอกำหนดยุบหนอพองหนอเป็นบริกรรมภาวนา

2. ที่ตั้งของใจ
- สายธรรมกาย กำหนดฐานที่ 7 (อยู่กลางลำตัว เหนือสะดือ 2 นิ้วมือ) เป็นที่ตั้งของใจ
- สายพุทโธกำหนดสุดลมหายใจเข้าออกหรืออยู่กลางท้องเป็นที่ตั้งของใจ
- สายยุบหนอพองหนอท้องเป็นที่ตั้งของใจ

สายธรรมกายกับสายพุทโธที่ตั้งของใจใกล้เคียงกัน

ขออธิบายของสายธรรมกายว่าทำไมที่ตั้งของใจต้องอยู่กลางท้อง เพราะจุดนั้นเป็นจุดเกิดดับของจิต ขออธิบายต่อนะครับ ในวิสุทธิมรรค กล่าวไว้ว่า " พอถึงฌาน 8 ให้ถอยไปที่ฌาน 4 แล้วเอาฌาน 4 จับอยู่ที่จิต เปรียบเสมือนเราเดินตามงู เราจะรู้ที่อยู่ของงู "

หากผู้ใดปฏิบัติตามนี้ก็จะพบจุดเกิดดับของจิตอยู่ที่กลางท้อง ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำเรียกว่าเห็นสิบเห็นศูนย์

ซึ่งยากมากกว่าที่จะเข้าใจ และเข้าถึง ผู้เขียนเองปฏิบัติลองผิดลองถูกอยู่ 20 กว่าปีกว่าที่จะเข้าใจ จึงไม่แปลกใจที่มีหลายคนยังไม่เข้าใจวิชชาธรรมกาย และคอยตำหนิ

วิปัสสนากรรมฐาน คือ กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา, กรรมฐานทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง หมายถึงการปฏิบัติธรรมที่ใช้ปัญญาพิจารณาเป็นหลัก

วิปัสสนากรรมฐานบำเพ็ญได้ โดยการพิจารณาสภาวธรรมหรือนามรูป คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะอินทรีย์ให้เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นด้วยปัญญาว่า สภาวธรรมเหล่านี้ ตกอยู่ในสามัญลักษณะหรือไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

วิปัสสนากรรมฐานเป็นกรรมฐานที่มุ่งอบรมปัญญาเป็นหลักคู่กับสมถกรรมฐาน ซึ่งมุ่งบริหารจิตเป็นหลัก

ในคัมภีรทางพระศาสนาทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถาทั่วๆ ไปมักจัดเอาวิปัสสนาเป็นแค่สุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา เพราะในวิภังคปกรณ์พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างนั้น

ทั้งนี้ก็ยังพอจะอนุโลมเอาวิปัสสนาว่า เป็นภาวนามยปัญญาได้อีกด้วย เพราะในฏีกาหลายที่ ท่านก็อนุญาตไว้ให้ ซึ่งท่านคงอนุโลมเอาตามนัยยะพระสูตรอีกทีหนึ่ง และในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคท่านก็อนุโลมให้เพราะจัดเข้าได้ในภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุข้อ 10

วิพากษ์วิจารณ์
ผมสงสัยว่า คุณคนแก่คงไปเมายาบ้าผสมยาฆ่าหญ้ามาหรือเปล่าก็ไม่รู้  เขียนเพ้อเจ้อไปเรื่อย  พวกนี้ชอบทำเป็นรู้ ในสิ่งที่ตนเองไม่รู้

มันจะมีหน้ามีตาไปสักเพียงไหน การทำเป็นรู้ในสิ่งที่ตนเองไม่รู้ แล้วไม่เปิดเผยว่า ตนเองเป็นใคร  ไม่รู้จะทำกันไปทำไม

เรื่องอื่นๆ ยกเว้นแต่ที่เกี่ยวกับวิชาธรรมกายต้องขอวิพากษ์วิจารณ์กันเล็กน้อย

ขอแสดงสัญชาตญาณของครูภาษาไทยสักเล็กน้อย  อันที่จริง ธรรมชาติของผม ผมไม่ค่อยจับผิดเรื่องของภาษามากนัก เพราะ ในการเขียนข้อมูลทางเว็บอาจจะต้องใช้ความเร็วในการตอบ ในการเขียน ความผิดพลาดทางภาษาอาจจะเกิดขึ้นได้ง่าย 

แต่ในกรณีของคุณคนแก่นี่ ท่านพิมพ์ผิดมากจนสังเกตได้ชัด ยิ่งทำให้น่าสงสัยไปว่า ภาษาไทยก็ไม่เข้มแข็ง แล้วจะมาเขียนให้ความรู้ผิดๆ กับคนอื่นไปทำไม

การให้ความรู้ผิดๆ ในทางวิชาการ หรือในทางโลกนั้น  มีผลเสียมากเหมือนกัน แต่ไม่มากนัก แต่การให้ความรู้ผิดๆ ในทางศาสนานั้น  กรรมหนักมาก

ธาตุธรรมถือว่า เป็นการสอนนอกทางพระศาสนา เป็นเครื่องมือของมาร  พวกที่ชอบสอนผิดๆ จึงไปอบายภูมิกันมาก

ไม่รู้ว่าความรู้ที่คุณคนแก่ท่านเขียนและเกี่ยวกับประเด็นอื่นจะจริงแค่ไหนก็ไม่รู้ อันนั้นก็ยกประโยชน์ให้จำเลยไป เพราะ ไม่มีความรู้ที่จะไปวิพากษ์วิจารณ์

ผมขอเลือกที่จะวิพากษ์วิจารณ์เรื่องที่ผมรู้ผมเห็น เป็นเรื่องๆ ดังนี้

1) คุณคนแก่เขียนเรื่องบริกรรมนิมิตไว้ว่า – สายธรรมกายใช้ลูกแก้วกลมใส สายพุทโธใช้การกำหนดลมหายใจเข้าออก ส่วนสายยุบหนอพองหนอใช้การกำหนดการเคลื่อนไหวของท้อง

สายวิชาธรรมกายยอมรับได้ว่าถูกต้อง แต่ของสายพุทโธกับสายยุบหนอพองหนอ ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าจะใช้คำว่า “นิมิต” ได้หรือไม่

คำว่า “นิมิต” น่าจะผูกพันกับ “การเห็น” สายปฏิบัติธรรมใดที่ไม่เน้นการเห็น ไม่น่าจะใช้คำว่า “นิมิต” ในแง่ของบริกรรมนิมิตได้

2) คุณคนแก่เขียนเรื่องที่ตั้งของใจไว้ว่า -สายธรรมกาย กำหนดฐานที่ 7 เป็นที่ตั้งของใจ สายพุทโธกำหนดสุดลมหายใจเข้าออกหรืออยู่กลางท้องเป็นที่ตั้งของใจ สายยุบหนอพองหนอกำหนดท้องเป็นที่ตั้งของใจ

สายวิชาธรรมกายยอมรับได้ว่าถูกต้อง แต่ของสายพุทโธกับสายยุบหนอพองหนอ ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าถูกต้อง โดยปกติแล้ว ในรุ่นของหลวงปู่มั่นกับลูกศิษย์นั้น กำหนดให้พิจารณาลมหายใจที่ปลายจมูก ไม่ใช่กลางท้อง

สายพุทโธรุ่นใหม่ๆ นี้ เพิ่งมีกำหนดให้พิจารณาลมหายที่แห่งเดียวกับวิชาธรรมกาย แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่า สายพุทโธทั้งหมดจะเปลี่ยนจุดที่พิจารณาลมมาอยู่ในท้องหรือไม่

สำหรับคำว่า “ที่ตั้งของใจ” ผมไม่คิดว่า สายพุทโธจะใช้กลางท้องเป็นที่ตั้งของใจ และสายยุบหนอพองจะใช้การเคลื่อนไหวของท้องเป็นที่ตั้งของใจ

คุณคนแก่น่าจะไม่เข้าใจ “จุดที่พิจารณา” กับ “ฐานของใจ”  สายวิชาธรรมกายใช้ฐานที่ 7 เป็นจุดที่พิจารณาด้วย  แต่สายพุทโธกับสายยุบหนอพองหนอไม่น่าจะใช่

3) คุณคนแก่ให้เหตุผลว่า ที่ตั้งของใจของสายวิชาธรรมกาย “อยู่กลางท้อง เพราะจุดนั้นเป็นจุดเกิดดับของจิต” ข้อความนี้ “มั่วแล้วครับท่าน

ผมเริ่มสงสัยพฤติกรรมของคุณคนแก่ขึ้นไปอีกว่า ในเมื่อตัวเองไม่เข้าใจ แล้วจะมาเขียนอวดเบ่งคุยโตคุยโม้โอ้อวดไปทำไม

สำนวนที่ว่า “จุดเกิดดับของจิต” นั้น เราไม่ค่อยได้ใช้ในวิชาธรรมกาย ในความหมายในลักษณะนี้ วิชาธรรมกายใช้คำศัพท์อื่น

หลวงพ่อวัดปากน้ำไม่ได้เป็นผู้กำหนดว่า ฐานที่ 7 เป็นที่ตั้งของใจ แต่เป็นธรรมชาติที่เป็นเช่นนั้น ตอนที่หลวงพ่อวัดปากน้ำเห็นดวงปฐมมรรคครั้งแรก ท่านใช้วิธีการของสายพุทโธ ไม่ใช่วิธีการของวิชาธรรมกาย

เมื่อเห็นดวงปฐมมรรคแล้ว เห็นกายธรรมแล้ว หลวงพ่อจึงนำไปสอนคนอื่น ไม่ใช่ว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำเลือกเช่นนั้น

ถ้าจะให้เหตุผลก็ให้ได้คือ ตรงฐานที่ 7 นั้น ลมหายใจมาหยุดตรงนั้นพอดี และ “เอกายนมรรค” ที่เป็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็มก็อยู่ตรงนั้น การเอาใจไปหยุดตรงนั้น ก็จะทำให้ผลของการปฏิบัติธรรมได้ผลเร็วกว่าการที่เอาใจไปตั้งไว้ที่อื่นๆ

4) คุณคนแก่เขียนต่อมาว่า หากผู้ใดปฏิบัติตามนี้ ก็จะพบจุดเกิดดับของจิตอยู่ที่กลางท้อง ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำเรียกว่า เห็นสิบเห็นศูนย์

อันนี้ก็มั่วอีกแล้วครับท่าน ของจริงเป็นอย่างนี้

เห็นสิบแล้วเห็นศูนย์ เป็นเค้ามูลสืบกันมา
เที่ยงแท้แน่หนักหนา ตั้งอนิจจาเป็นอาจิณ
จุติแล้วปฏิสนธิ ย่อมเวียนวนอยู่ทั้งสิ้น
สังขาราไม่ยืนยิน ราคีสิ้นเป็นตัวมา

สิบคือ ฐานที่ 6 อยู่ในท้องระดับเดียวกับสะดือ ศูนย์คือ ฐานที่ 7 อยู่ในท้องเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือของผู้ปฏิบัติ 

ความกว้างเท่ากับนิ้วหัวแม่มือของมือซ้ายกับมือขวาซ้อนกัน  แต่เวลาเราสอน ใช้ความกว้างของนิ้วชี้กับนิ้วกลางจะง่ายดี

เวลาเห็นดวงใสนั้น จะต้องเห็นที่ฐานที่ 6 ก่อน แล้วดวงใสก็จะลอยขึ้นมาฐานที่ 7  หลวงพ่อวัดปากน้ำจึงเขียนกลอนว่า  “เห็นสิบแล้วเห็นศูนย์ เป็นเค้ามูลสืบกันมา

มั่วจริงๆ คุณคนแก่นี่

4) คุณคนแก่เขียนต่อมาว่า ยากมากกว่าที่จะเข้าใจ และเข้าถึง ผู้เขียนเองปฏิบัติลองผิดลองถูกอยู่ 20 กว่าปีกว่าที่จะเข้าใจ จึงไม่แปลกใจที่มีหลายคนยังไม่เข้าใจวิชชาธรรมกาย และคอยตำหนิ

ในฐานะวิทยากรสอนวิชาธรรมกาย คุณคนแก่มั่วครับท่าน ที่เหลือๆ ก็มั่วทั้งนั้น แต่เห็นว่าไม่เกี่ยวกับวิชาธรรมกายนัก ก็ปล่อยให้ผู้อ่านพิจารณากันเองก็แล้วกัน...



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น